สายพันธุ์ของดอกทานตะวัน
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์
พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย
ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร
จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ
ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี
โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร
เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า
จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101
ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่
กลีบดอกสีเหลืองสดใส
และให้ปริมาณน้ำมันสูงสายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน
แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัย
สำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม
ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
- ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
- การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
- เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
- ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
- ปริมาณน้ำมัน เฉลี่ยร้อยละ 48
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จำนวน 5 พันธุ์
ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 5-6 บริษัทแปซิฟิก
เมล็ดพันธุ์ จำกัด
ลักษณะที่ดีของพันธุ์ลูกผสม
คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อนข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จำเป็นมากนัก
แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจำพันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น
กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณู ปริมาณและคุณภาพของน้ำหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด
ทนทานต่อการโค้นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น